เมนู

553. อรรถกถาคยากัสสปเถราปทาน



พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ 3 ดังต่อไปนี้:-
อปทานของท่านพระคยากัสสปเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า อชินมฺม-
วตฺโถหํ
ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ
นั้น ๆ ในกัปที่ 31 แต่กัปนี้ไป ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
สิขี ท่านได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้วเพราะความที่ตนเองมี
อัธยาศัยที่จะออกจากทุกข์ จึงละเพศฆราวาสออกบวชเป็นพระดาบส สร้างอา-
ศรมอยู่ในป่า มีมูลผลาผลในป่าเป็นอาหาร. ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์เดียวไม่มีผู้ติดตามเป็นที่สอง ได้เสด็จไปใกล้อาศรมของพระดาบส
นั้นแล้ว. ดาบสนั้น พอได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็มีใจเลื่อมใส เข้าไป
ใกล้แล้ว ถวายบังคมยืนอยู่ ณ ที่อันสมควรด้านหนึ่ง คอยดูเวลาอยู่จึงน้อม
เอาผลพุทธราอันเป็นที่น่าจับใจเข้าไปถวายแด่พระศาสดา. ด้วยบุญกรรมอัน
นั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้
ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว เพราะความที่คนมีอัธยาศัยที่จะออก
จากทุกข์ จึงละเพศฆราวาส บวชเป็นพระดาบสอยู่ร่วมกับพระดาบส 200 องค์
ณ ใกล้แม่น้ำคยา. เพราะอยู่ใกล้แม่น้ำคยา และเพราะมีโคตรว่ากัสสป
จึงได้มีสมัญญาว่าคยากัสสป. ท่านได้ฟังโอวาทคืออาทิตตปริยายเทศนา โดย

นัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้พร้อมกับบริษัท ดัง
ที่ได้กล่าวไว้แล้วในอปทานของพระนทีกัสสป จึงได้ดำรงอยู่ในพระอรหัต-
ผล
ครั้นท่านได้บรรลุพระอรหัตแล้ว เกิดมีความโสมนัสใจเมื่อจะประ-
กาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า
อชินจมฺมวตฺโถหํ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชินจมฺมวตฺโถ
ความว่า เพราะบวชเป็นดาบส จึงนุ่งห่มด้วยหนังเสือ. บทว่า ขาริภารธโร
ความว่า ในเวลาเป็นดาบส ต้องบรรจุหาบบริขารสำหรับดาบสหาบไป. คือ
เอาบริขารของดาบสบรรจุลงจนเต็มหาบ. บทว่า โกลํ อหาสิ อสฺสมํ
ความว่า เอาผลพุทราวางจนเต็มเกลื่อนอาศรมแล้วก็นั่งในอาศรม. บทว่า
อโคปยึ ความว่า เราได้แสวงหาผลพุทราแล้วเก็บรักษาไว้ในอาศรม. คำที่
เหลือทั้งหมด มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาคยากัสสปเถราปทาน

กิมิลเถราปทานที่ 4 (554)



ว่าด้วยบุพจริยาของพระกิมิลเถระ



[144] เมื่อพระพุทธเจ้า พระนามว่า
กกุสันธะ ปรินิพพานแล้ว ข้าพเจ้า ได้เก็บเอา
ดอกเข็มมาทำเป็นมณฑปบรรจุพระธาตุ ของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงมีวสี.